head-edit
บริษัท เอส.เอ็ม.เอส.คอมเมอร์เชียล จำกัด ตัวแทนออกของระดับมาตรฐาน AEO
package_head
ship_name

การขนส่งสินค้าทางทะเล
การขนส่งสินค้าทางทะเล เป็นส่วนประกอบที่สําคัญส่วนหนึ่งของ ระบบการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต เพราะเป็นเพียงการขนส่งชนิดเดียวที่ขนสินค้าได้คราวละมากๆ และค่าระวางเรือก็มีราคาถูกกว่าการขนส่งในรูปแบบอื่น ๆ

ตารางเดินเรือ (SHIPPING SCHEDULE)
ตารางเดินเรือ มีความสําคัญเป็นอย่างมากต่อการนําเข้าและส่งออก เพราะมีผลโดยตรงต่อการส่งมอบสินค้า ดังนั้นผู้นําเข้าและผู้ส่งออกจึงจําเป็นจะต้องทราบ ตารางเดินเรือเพื่อที่จะกําหนดระยะเวลา ในการสั่งซื้อสินค้าให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าหรือ ให้ทันต่อความต้องการของสายการผลิตในกรณีที่เป็นการนําเข้า หรือกําหนดระยะเวลาในการผลิตหรือรวบรวมสินค้าเพื่อให้ทันต่อเที่ยวเรือที่จะ ส่งออกก่อนที่ L/C หรือคําสั่งซื้อจะหมดอายุ เป็นต้น

ค่าระวางเรือ (FREIGHT CHARGE)
เนื่องจากค่า ระวางเรือและค่าใช้จ่ายมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ นอกจากนี้ค่าระวางในเส้นทางเดินเรือเดียวกันของสายเดินเรือต่างๆ ก็อาจไม่เท่ากันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเส้นทางที่มีเรือนอกชมรมเดินเรือวิ่งอยู่ในเส้นทางด้วย ดังนั้นผู้นําเข้าและผู้ส่งออกที่ต้องจ่ายค่าระวางด้วยตนเอง จึงควรจะสอบถามค่าระวางจากตัวแทนเรือหลายๆ แห่ง และควรที่จะให้ตัวแทนเรือออกหนังสือเสนอราคาค่าระวางเรือ รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะต้องจ่ายเพิ่มเติมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

โครงสร้างค่า ระวางเรือของ Liner Vessel มีลักษณะแตกต่างจาก Charter Vessel คือ
A. ค่าระวางของเรือ Liner หรือเรือประจําเส้นทาง
ค่าระวางของเรือวิ่งประจําเส้นทาง อัตราจะขึ้นอยู่กับระยะทางเส้นทางเดินเรือและตารางเวลา เรือวิ่งประจําเส้นทางโดยส่วนใหญ่จะเป็นเรือ ที่เป็นสมาชิกอยู่ในชมรมเดินเรือประจําเส้นทางนั้นๆ เช่น ชมรม เดินเรือเอเชีย-อเมริกาเหนือ (Asia-North American Eastbound Rate Agreement - ANERA) อัตราก็จะใกล้เคียงกันทั้งหมด แต่ปัจจุบันมีเรือที่อยู่นอกชมรมเดินเรือมากขึ้น เรือเหล่านี้ก็จะมีอัตราค่าระวางน้อยกว่าเรือในชมรมเดินเรือ ค่าระวางของเรือวิ่งประจําเส้นทางประกอบไปด้วย

  • อัตราค่าระวางพื้นฐาน (Basic Freight Rate)
  • เงินเก็บเพิ่มค่าปรับอัตราน้ำมันที่เพิ่มขึ้น (Bunker Adjustment Factor Surcharge- BAF)
  • เงินเก็บเพิ่มค่าปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา(Currency Adjustment Factor Surcharge - CAF)
  • นอกจากค่าระวางเรือแล้ว บริษัทเรือยังอาจเรียกเก็บค่าระวางพิเศษต่างๆ หรือค่าใช้จ่ายพิเศษที่ต้นทางได้อีกด้วย เช่น
    1. ค่าขนถ่ายตู้สินค้าที่ท่าเรือ (Terminal Handling Charge - THC)
    2. ค่าท่าคับคั่ง (Congestion Surcharge)
    3. ค่าบรรจุสินค้าเข้าคอนเทนเนอร์ (Container Freight Station Charge - CFS Charge)
    4. ค่าออกเอกสาร เป็นต้น
    5. ซึ่งค่าระวางพิเศษต่างๆ หรือค่าใช้จ่ายพิเศษเหล่านี้บริษัทเรือเรียกเก็บในอัตราค่อนข้างสูง เช่น
            -
    ค่า CFS Charge สําหรับสินค้าที่ส่งไปสหรัฐอเมริกาและยุโรป เรียกเก็บในอัตรา 4,215 บาทต่อตู้ขนาด 20 ฟุต (อัตรา ณ เดือน สิงหาคม 2543) / 8,430 บาทต่อตู้ขนาด 40 ฟุต
            -
    ค่า THC สําหรับสินค้าที่ส่งไปสหรัฐอเมริกาและยุโรป เรียกเก็บในอัตรา 2,600 บาทต่อตู้ขนาด 20 ฟุต (อัตรา ณ เดือน สิงหาคม 2543) / 3,900 บาทต่อตู้ขนาด 40 ฟุต
    6. ค่าระวางพิเศษหรือค่าใช้จ่ายพิเศษ ที่เรียกเก็บที่ต้นทางนี้เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนค่าใช้จ่าย ที่บริษัทเรือต้องจ่ายออกไปแล้ว นับว่าเป็นเงินที่เรียกเก็บในอัตราที่สูงมาก
B. ค่าระวางของเรือ Charter หรือเรือจรเช่า
     - ไม่มีอัตราแน่นอน เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างเจ้าของเรือกับผู้เช่าเรือ

                       สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่  

                       บริษัท เอส.เอ็ม.เอส.คอมเมอร์เชียล จำกัด 

                       โทร.02-671-3630 ต่อ 132 และ 137 

                       คุณสุขเกษมกฤษฏิ์    โทร. 081-731-4939


การขนส่งสินค้าทางทะเล

 
2banner_ctat 2banner_tlcb 2banner_custom 2banner_diw 2banner_dlt
2banner_moc 2banner_plant 2banner_port 2banner_professional 2banner_revenue
2banner_thaichamber 2banner_dft 2banner_ditp
2banner_fti
2banner_cfp
2banner_pat 2banner_port_auto 2banner_fisheries 2banner_agri 2banner_data

บริษัท เอส. เอ็ม. เอส. คอมเมอร์เชียล จำกัด
116/46 ชั้น12 A อาคาร เอส เอส พี 2 ถนน ณ ระนอง แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทร. (+66) 2 671-3630-5  แฟ็กซ์. (+66) 2 671-3423-4 | อีเมล์ :
narongvate@smsc.co.th | เว็บไซต์ : http://www.smsc.co.th